ความลับแห่งชัยชนะคืออะไร

อ.เปา
อยากทราบว่า “ความลับแห่งชัยชนะคืออะไร ?”
วานท่านนักวิ่งทุกท่านให้ความเห็นของตัวเอง
ท่านรู้สึกว่าเราไม่รู้เรื่องอะไร เวลาแข่งจึง ไม่เป็นที่ 1
ทำไม่เราเอาชนะเคนย่าได้ยากเหลือเกิน ?

อ.เบญ (125.25.201.80) [29 ส.ค. 2550 เวลา 16:42] #180670 (4/40)

พรสวรรค์+พรแสวง ก็ยังไม่พอสำหรับมาราธอนต่ำกว่า 2.10 ชม. (ไม่ได้มองแค่เคนย่าที่มาวิ่งในไทย) ต้องมีทั้งโอกาส+การสนับสนุน โดยมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย

วิ่งระดับนั้น ต้องเป็นนักวิ่งอาชีพจริงๆ คือวันๆ ซ้อมวิ่งอย่างเดียว ซ้อมเสร็จก็พักผ่อน โดยไม่ต้องทำอะไรอีก และยังต้องมีผู้ร่วมทีมอีก เช่น โค้ช นักกายภาพบำบัด แม่บ้าน (ฝ่ายซักรีด เตรียมอาหาร) เป็นต้น พร้อมทั้งอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ในการฝึกซ้อมต่างๆ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ ห้องแล็บวิทยาศาสตร์การกีฬา ห้องนอนไนโตรเจน เป็นต้น

เคยอ่านประวัตินักวิ่งระดับโลกบางท่าน จะมีพูดถึงทีมงานของเขาอย่างอ้อมๆ ทำให้พอทราบว่า การจะปั้นนักวิ่งระดับโลกได้นั้น เขาจะทำงานกันเป็นทีม ไม่ใช่มีแค่นักวิ่งโดดๆ หรือไม่ใช่มีแค่นักวิ่งกับโค้ชโดดๆ

นักวิ่งเคนย่าบางคนจะมีโค้ชจากต่างประเทศมาดูแวว แล้วเอาไปฝึก

คำว่า club หรือชมรมวิ่งในต่างประเทศ ไม่ใช่มีแค่คนที่ชอบวิ่งมารวมกลุ่มกัน แล้วไปฝึกซ้อมร่วมกันตามสวนสาธารณะแบบบ้านเรา แต่เขาเป็น sport club จริงๆ มีอุปกรณ์และบุคลากรพร้อม

การปูพื้นฐานทักษะการวิ่งสำหรับเด็กจนถึงวัยรุ่นที่ถูกต้อง ในบ้านเราถือว่ายังไม่มี ทำให้เรายิ่งไม่มีตัวเลือกไปอีก เพราะการวิ่งไม่ใช่จู่ๆ ก็มาวิ่งได้ดีในทันที มันต้องมีกระบวนการในการพัฒนา ทั้งระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น ต้องใช้เวลาในการพัฒนา

ในด้านจิตใจ นักวิ่งยังต้องเป็นนักสู้อีกด้วย ถ้ายังชอบพูดว่าคงสู้คนโน้นคนนี้ไม่ได้ ซ้อมยังไงก็สู้ไม่ได้ครับ นักวิ่งต้องมีความบ้าวิ่ง (บ้าพลัง) ไม่กลัวคู่แข่งหน้าไหน ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อมเป็นปีๆ แต่ก็ต้องมีโค้ชช่วยควบคุมให้อยู่ในขอบเขต ไม่บาดเจ็บไปเสียก่อน

เนื่องจากนักวิ่งบ้านเรายังต้องหากินเอง (ถือว่าเป็นระดับสมัครเล่น) จึงยังต้องห่วงเรื่องหากิน บางคนตอนแข่งก็ไม่ใส่กันเต็มที่จริงๆ เพราะต้องถนอมตัวไว้งานหน้า หรือบ้างก็ใช้วิธีฮั้วกัน (แบ่งรางวัลกัน โดยไม่ต้องเหนื่อยมาก กรณีแข่งกันจริงๆ ไม่กี่คน) เป็นต้น

คุณอยากเป็นศิษย์มีครู

อ.เปาครับ ช่วยแนะนำการซ้อมในสัปดาห์สุดท้ายก่อนเข้าแข่งขันเราควรซ้อมอย่างไรครับ หนัก เบา หรือ มาก น้อย เพียงใดถึงจะทำให้ร่างกายพร้อมที่สุดครับ รบกวนอาจารย์เข้ามาให้ความรู้หน่อยครับ ขอขอบคุณอาจารย์ครับ

อ.เปา
คุณ อยากเป็นศิษย์มีครู

ผมจำได้ว่าสัปดาห์สุดท้ายซ้อมให้เจ้งนั้นทำได้ครับ
แต่จะซ้อมให้ดีขึ้น มีแต่คำว่า …ไม่มีทางครับ

ก็ควรทราบนะครับว่าการซ้อมเพื่อแข่งต้องวางโปรแกรมไม่น้อยกว่า 6 เดือน
นั่นหมายความว่าคุณต้องมีพื้นฐานมาอย่างดีแล้ว

พื้นฐานคืออะไรเล่า…?
คำตอบคือคุณได้สร้างความอดทนมาอย่างเพียงพอแล้ว
อีก 6 เดือนก่อนแข่ง….คุณก็มาพัฒนาความเร็ว

ผมชอบพูดในสไตล์เข้าใจของผมว่า…อดทนมี 3 ระดับ

1.ต้องเริ่มซ้อมให้อดทนต่อการวิ่งช้า
2.ต้องซ้อมให้อดทนต่อการวิ่งเร็วปานกลาง
3.ต้องซ้องให้อดทนต่อการวิ่งเร็ว

ซึ่งในแต่ละระดับมีคำสอนไว้มากมาย
จัดเรียงได้อย่างที่ผมว่ามา
หากใครจะรีบเร่งข้ามขั้น …ผลหรือ
ก็คือได้อย่างใจนึก…..เพียงช่วงสั้นๆ

ได้รับแรงเชียร์..ให้หลงระเริง..กลายเป็นฮีโร่รุ่นใหม่
ไม่นาน ความไม่อดทนกลายเป็นความบาดเจ็บ
แล้ว…ก็ได้แต่สมเพชตัวเอง ที่ใจร้อน

ในแต่ละขั้น…เรารู้ได้ แต่เห็นไม่ได้
เพราะมีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงนี้…ได้มาจากการฝึกที่ฉลาด
ไม่ใช่การฝึกแบบบ้าบิ่น เป็นการสร้างกระดูกคือความแข็งแรง

ไม่ใช่หัวใจที่คิดว่า…ข้าพเจ้าเท่านั้นที่แกร่งที่สุด
ในสนาม…ไม่มีใครยอมใคร ต้องรู้
การซ้อมจึงต้องแกร่งกว่า แต่ใช้ไม่หมด
ขอเพียงเอาชนะคนที่นำได้ก็พอแล้ว

ผมไม่มีคำแนะนำสำหรับคนใจร้อน
เอาเวลาอาทิตย์สุดท้ายมาบดความสดที่มี
สำหรับสัปดาห์สุดท้าย…ทำตัวให้เบาจากการซ้อม ..ยิ่งจะดีกว่า
ทำยังไงก็ไม่มีดีขึ้น…หันหลังไปดูการซ้อมที่ผ่านมา…
แล้วไม่เห็นทางชนะคนที่เราเคยแพ้
ก็ต้องยอมรับการพ่ายแพ้ซ้ำซาก….

มีคำพูดบางคำลอยในอากาศ…..

บางทีอยู่เฉยๆ…ยังดีซะกว่า

คุณนิรนาม
เห็นด้วยกับคุณ เบญ ได้กล่าวถึงปัจจัยการพัฒนาไปเป็นนักวิ่งอาชีพ(ระดับโลก) ครบถ้วนกระบวนความทีเดียว ขอเพิ่มเติม เกี่ยวกับ ปัจจัยด้านพันธุกรรม สักน้อย เคยอ่านเจอว่า นักวิ่งแอฟริกา ด้านตะวันออก เช่น เคนย่า เอธิโอเปีย แทนซาเนีย จะมี อัตราส่วนของกล้ามเนื้อ ที่เรียกว่า Slow twitch fiber สูงถึง 80% ทีเดียว ( ปกติ อัตราส่วน Fast : Slow twitch fiber ในคนปกติทั่วๆไป จะอยู่ที่ประมาณ 50:50 Slow fiber จำเป็นต่อ พวก Endurance sport เช่น วิ่งระยะยาว ขี่จักรยานทางไกล โดยส่วนหนึ่งเกิดจากการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่องเป็ระยะเวลายาวนาน แต่ก็มีขีดจำกัดของพัฒนาการ โดยบางคนไม่ว่าจะฝึกซ้อมอย่างไร ก็ไม่อาจเพิ่ม อัตราส่วนSlow twitch ได้มากไปกว่านั้นอีกแล้ว ไม่ทราบว่า เท็จจริง อย่างไร ใครรู้ ช่วยด้วย ) จึงอาจจะเป็นเหตุให้นักวิ่ง Africa มีปัจจัยที่ได้เปรียบชาติอื่นๆอยู่บ้าง ( มี handicap โดยอัตโนมัติ)

Henry Wanyoike นักวิ่งชาวเคนย่า อายุ 33 ปี ตาบอดสนิท ตอนอายุ 21 ปี ได้รับเลือกให้เป็น นักวิ่งทูตสันทวไมตรี ของ ธนาคาร Standard Chartered ซึ่งเป็น สปอนเซอร์งานวิ่งมาราธอน รวมทั้ง กรุงเทพมาราธอน 2006 ด้วย เขาเคยได้เหรียญทอง 5000 เมตรในการแข่งกีฬาโอลิมปิค คนพิการ ที่ Sydney เมื่อปี 2000 เป็นเจ้าของสถิติ โลก (ของผู้พิการทางสายตา) วิ่งมาราธอน ด้วยเวลา 2:31:31 ชม ที่ Hamburg Marathon ปี 2005
ชนะเลิศ Singapore Half marathon 2005 ด้วยเวลา 1:16:07 ชม และได้รางวัลและเกียติยศมากมายในการแข่งขัน Marathon และ Half marathon
ผมขอยกย่องและชมเชยในความเป็นนักสู้ ของนักวิ่งผู้นี้ และ นักวิ่งไทยทุกท่านที่ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคต่างนานา แม้ท่านจะไม่เคยได้รับรางวัลถ้วย เงิน ชื่อเสียงเกียรติยศ ใดๆ แต่ท่านน่าจะได้ตวามภาคภูมืใจเช่นเดียวกับ Henry Wanyoike นักวิ่งผู้พิการทางสายตาผู้นี้

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
X