ท่าวิ่งที่ใช้แรงน้อยที่สุด

เมื่อคืนผมไปเดินยืดแข้งยืดขา…แล้วก็ขบคิด..
อะไรเป็นท่าวิ่ง…ใช้แรงน้อยที่สุด….????
หาอ่านในตำรา..ก็หลายเล่ม…
พิจารณาท่าวิ่งหลายคน..ก็ไม่เห็นความแตกต่าง

จากการที่ผมวิ่งไปกับนักวิ่งแนวหลัง…
ผมเห็นว่า..ท่านเหล่านั้น.วิ่งถึงที่หมายได้ทุกคน..
น่าคิดว่า..เป็นไปได้อย่างไร?

อ่านตำราก็บอกว่า…อย่าให้เท้าเกินจุดศูนย์กลางร่างกาย
ศูนย์กลาง(C.G.= centre of gravity) ร่างกายอยู่ตรงไหน….?
คำตอบคือ C.G. อยู่ใต้สะดือไปเล็กน้อย…บริเวณท้องน้อย…

ถ้าก้าวขาเลยจุดนี้ไปมาก…แรงต้านก็ยิ่งมาก
ถ้าพอดี..จะมีแรงต้านการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าน้อยมาก…..
นี่ว่าไปตามตำรา…ของโค้ชกรีฑา

ส่วนผมมีความเห็นว่า..ท่าวิ่งที่ใช้แรงน้อยที่สุดของแต่ละคน…คือ
ท่าวิ่งตอนใกล้หมดแรง

ใกล้หมดแรงแต่ยังวิ่งได้…น่าจะเป็นท่าวิ่งที่ใช้แรงน้อยที่สุด…
นี่คือท่าวิ่งที่ใช้แรงน้อยที่สุดของแต่ละคน…
มันออกมาเอง…ไม่ต้องเสแสร้ง..ไม่ต้องฝึก…
หากรู้จักนำท่านี้มาใช้…ผมว่า..วิ่งได้ไกลทีเดียว

ผมคิดอย่างนี้…เก็บมาเล่าให้ฟัง…
จริงหรือไม่…ท่านช่วยออกความเห็นหน่อย…
แลกเปลี่ยประสบการณ์กัน…
เวลาเหนื่อยๆ..ท่านวิ่งอย่างไร..

และ…ผมคิดจะลองวิ่งแบบคนหมดแรง…ดูว่า..ผลจะเป็นอย่างไร
ในกรุงเทพมาราธอนนี้แหละ…คงได้รู้อะไรดีๆ

อ.เบญ

อ.เปา ความยาวก้าว จะขึ้นอยู่กับความเร็วที่ใช้ด้วย รวมถึงความถี่ในการสับขา คือในการแข่งขันเราไม่ได้เน้นที่ประหยัดแรงเท่านั้น เพราะต้องมีความเร็วด้วย จึงควรจะเป็นท่าทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่า คือเร็วแต่ก็สูญเสียกำลังไปมากจนเกิน

นอกจากระยะการก้าวขาแล้ว ลำตัวควรตั้งตรงหรือโย้ไปข้างหน้าได้เล็กน้อย ผมเห็นบางคนวิ่งแล้วตัวโยกไปมา (ด้านข้าง) ผมคิดว่า น่าจะปรับสมดุลย์ของร่างกายโดยการแกว่งแขนจะดีกว่าโยกตัว ให้จุดหมุนอยู่ที่หัวไหล่ (ประสิทธิภาพ) แต่ก็ไม่ใช่เกร็งตัว ตัวตรงแต่ก็ต้องผ่อนคลาย การเกร็งก็ทำให้เสียแรงไปโดยเปล่าประโยชน์

ศอกจะงอประมาณ 90 องศา และไม่เกร็งเช่นกัน

การปรับท่าทาง ให้ฝึกกับระยะทางสั้นๆ ให้คล่อง (การสไตร์ด) และค่อยๆ ลองเพิ่มความเร็วโดยคิดถึงท่าทางที่มีประสิทธิภาพไว้

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
X