จิตวิทยาต่อการฝึกและการแข่งขัน

ความสำคัญของจิตวิทยาต่อการฝึกและการแข่งขัน
…..อายุเท่ากัน ?
…..สรีระก็ไม่ต่างกัน ?
…..แผนฝึกเหมือนกัน ?
…..เก็บตัวที่เดียวกัน ?
…..สนามซ้อมเดียวกัน ?
….โค้ชคนเดียวกัน ?
…..พื้นฐานการวิ่งก็คล้าย ๆ กัน ? เป็นต้น
แต่ผลการแข่งขันออกมาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โค้ชและนักวิ่ง ก็ยังงงอยู่ว่า “เกิดอะไรขึ้นกับเรานะ” แสดงว่านักวิ่งสามารถรับความเครียด ความกดดันได้ต่างกัน
…..ซึ้งในการฝึกซ้อมของนักวิ่งที่อยู่ในระดับมาตรฐานและมีขีดความสามารถสูง ส่วนมากมุ่งการฝึกทางด้านจิตวิทยา เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ละเอียดซับซ้อนให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า การฝึกทางด้านร่างกายไม่มีความสำคัญหรือได้รับการผ่อนผันให้ฝึกน้อยลง แต่ นักวิ่งส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจ ยังคงทุ่มเทให้กับการฝึกทางด้านร่างกายมากกว่าการฝึกทางด้านจิตวิทยา โค้ชจึงจำเป็นต้องแนะนำทำความเข้าใจกับนักกีฬาเป็นรายบุคคล การทราบพื้นฐานภูมิหลังของนักวิ่ง ความบีบคั้นทางด้านจิตใจ ความเครียด ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดและความผันแปรทางอารมณ์ เมื่อถูกกดดันในสภาพการณ์ที่มีความแตกต่างกันค่อนข้างสูง เหล่านี้โค้ชจำเป็นต้องทราบจากนักวิ่ง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการฝึกซ้อมและการแข่งขัน
…….โค้ชที่ดีมิใช่มีแต่ ความรู้ความสามารถเฉพาะการจัดระบบการฝึกซ้อมทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการฝึกซ้อมทางด้านจิตใจ และที่ขาดความเชื่อมั่น ประหม่า ตื่นเต้น และมีความวิตกกังวลสูงเกินไป ให้กลับมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้นมีสมาธิความมั่นคงทางด้านจิตใจดีขึ้น มีความวิตกกังวลน้อยลง โค้ชที่มีความสามารถจะต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของนักวิ่ง และสามารถวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมการแสดงออกได้อย่างถูกต้อง
…….ยิ่งระดับของเกมการแข่งขันมีความสำคัญสูงมากเพียงใด นักวิ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขัน จะยิ่งมีความรู้สึกถูกบีบคั้นทางด้านจิตใจมากขึ้น เป็นความเครียดที่กดดันอยู่ในอารมณ์ความรู้สึกตลอดเวลา และจะมีระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ในช่วงของก่อนจะเริ่มแข่งขันจนกลายเป็นอาการเกร็งและวิตกกังวล ทำให้เกิดการพ่ายแพ้อย่างพลิกความคาดหมายได้
…..แรงบีบคั้นหรือแรงกดดันที่นักวิ่งได้รับ ถ้าสูงเกินกว่าสภาพจิตใจจะรับไว้ได้ จะเป็นเหตุทำให้ใช้ความสามารถที่มีอยู่ไม่เต็มขีดสูงสุด
…..การสร้างแรงจูงใจที่ดี จะช่วยให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีแก่นักวิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสุดท้ายก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น การปล่อยให้นักกีฬาอยู่อย่างโดดเดี่ยวนั้นในบางโอกาสเป็นสิ่งที่ดี แต่ในช่วงสำคัญที่การแข่งขันกำลังจะเริ่มขึ้นบางครั้งกลับกลายเป็นความรู้สึกที่อ้างว้างโดดเดี่ยวขาดความอบอุ่นใจ การอยู่ใกล้ชิดเป็นเพื่อนคุยหรือคอยให้คำปรึกษาแนะนำของโค้ช จึงเป็นกำลังใจ ที่จะช่วยลดความวิตกกังวลและความประหม่าตื่นเต้นให้กับนักวิ่งได้เป็นอย่างดี เป็นการกระตุ้นให้นักวิ่งเกิดสมาธิ ความเชื่อมั่นก่อนที่จะถึงเวลาสำคัญของการแข่งขัน
…..บางครั้งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งกว่าการแนะนำเทคนิคทักษะหรือแผนการเล่นที่สำคัญเสียอีก
……สุดท้าย กรณี “บุญชู” ของพวกเราก็เจอปัญหาแบบนี้เมื่อครั้งการแข่งขันมาราธอนที่เวียดนาม โค้ชปล่อยให้บุญชูอยู่คนเดียวและแข่งขันคนเดียว เพื่อน ๆ ที่แข่งเสร็จเขากลับกันหมด แต่ครั้งนี้โค้ชได้ให้เพื่อน ๆ คอยประกบบุญชู เป็นเพื่อนคุย ให้กำลังใจ ทำให้บุญชูเค้นศักภาพออกมาได้สูงสุดของเขาและเป็นผู้ชนะในที่สุด ขอบคุณครับ

รวบรวมโดย ชอนตะวัน จาก หนังสือการฝึกกรีฑาและหนังสือพิมพ์รายวัน”

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.