จุดศูนย์ถ่วงในขณะวิ่ง

ลองอ่านบทความที่ผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 3/5/49 ดูนะครับ
ย้อนไปเมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ผมได้ลงบทความเรื่อง “การแกว่งแขน” เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าท่าวิ่งที่ดีหรือถูกต้อง ย่อมทำให้เราวิ่งได้เร็วขึ้น นานขึ้น และประหยัดพลังงานได้ดีขึ้น เป็นต้น จะเห็นว่านักวิ่งแนวหน้าที่วิ่งสวนเรามาในสนามแข่งนะ เขาก็เหนื่อยนะครับ แต่เขาวิ่งพลิ้วดูเสมือนว่าไม่เหนื่อยท่าวิ่งก็ดูสวยงามมาก เหล่านี้เกิดจากการฝึกวิ่งที่ถูกต้อง ตั้งแต่ ท่าทางในการวิ่ง โปรแกรมในการซ้อม เป็นต้น เรามาลองดูนะครับว่า ขณะที่เราวิ่งไปนั้น “จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายขณะวิ่ง (Center of Gravity) ” อยู่ตรงไหน ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ความแตกต่างของระดับจุดศูนย์ถ่วง ของร่างกายในขณะวิ่งจะเกิดขึ้นมากกว่าในขณะเดินประมาณ 5-6 เซนติเมตร ส่วนปฏิกิริยาของแรงดันย้อนกลับทุกจังหวะที่เท้าสัมผัสพื้น ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งหรือการเดินก็ตาม จะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 2 เท่าของน้ำหนักตัว แต่เนื่องจากการเดินหรือการวิ่งเหยาะ(Jogging) ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของแรงดันย้อนกลับระหว่างเท้ากับพื้นในแนวดิ่งเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดแรงกระแทก แรงเสียดทาน ตลอดจนแรงส่งตัวขึ้นในแนวตั้งมากกว่าแนวเฉียงหรือแนวนอน เป็นผลให้การเคลื่อนไหวที่ไม่อาจกระทำได้รวดเร็วเช่นการวิ่ง การที่จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงต่ำในขณะวิ่ง ย่อมมีผลกระทบต่อความสมดุลและความมั่นคงในการทรงตัวตลอดจนถึงความเร็วในการวิ่ง การแกว่งปลายแขนให้เฉียงเข้าหาด้านในของตัวและการปรับมุมลำตัวให้โน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย จึงเป็นการช่วยปรับระดับจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและช่วยควบคุมจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ในแนวหรือระดับที่ต้องการ จะทำให้โอกาสที่จะเสียการทรงตัวขณะเร่งความเร็วในการวิ่งน้อยลงไป ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่มั่นคงและความเร็วในการวิ่งได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากโปรแกรมฝึกซ้อมที่เหมาะสมแล้ว การsetท่าวิ่งให้ถูกต้องก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกื้อหนุนให้ วิ่งได้อย่างสนุกสนาน เร็ว ประหยัดแรงอีกด้วย ลองนำฝึกดูนะครับ ขอบคุณนะครับ

บทความนี้รวบรวมจากหนังสือการฝึกกรีฑา

โดย…ชอนตะวัน 3พ.ค.49

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.