วิ่งยาวให้ได้ผลดี

วิ่งยาวให้ได้ผลดี

โดยปกติแล้วเราจะฝึกวิ่งในแต่ละวันไม่เหมือนกัน บางวันฝึกเร็ว บางวันฝึกวิ่งขึ้นเนินหรือทางชัน

แต่ทั้งนี้เนื่องจากการฝึกเหล่านั้นจัดว่าเป็นการฝึกที่หนักกว่าวันธรรมดา เราจะกำหนดให้ฝึกเพียง

สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น (สำหรับพวกที่ฝีเท้าระดับกลาง) เช่นเดียวกัน

การวิ่งยาวก็เป็นการฝึกที่ให้วิ่งไกลวิ่งนานกว่าวันอื่นๆและมักจะกำหนดให้สัปดาห์ละครั้งเท่านั้น

อย่าเข้าใจไปว่าให้วิ่งทุกวันเชียวนะครับ โดยทั่วไปนักวิ่งจำนวนไม่น้อยจะเซ็ทวันวิ่งยาวเป็นวันอาทิตย์

และเช่นเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะเซ็ท ทุกวันจันทร์ เป็นวันหยุดวิ่งโดยอัตโนมัติ

?การวิ่งยาวจำเป็นสำหรับนักวิ่งทุกคนหรือ?ไม่วิ่งได้ไหม?

แน่นอนครับไม่ว่าสำหรับระยะทาง 10 กม.ฮาล์ฟ,หรือเต็มมาราธอนล้วนได้ประโยชน์จากวิ่งยาวแทบทั้งสิ้น

การวิ่งยาวสอนให้องคาพยพของผู้ฝึกเริ่มเคยชินกับสภาพความอึดที่เป็นการออกแรงวิ่งต่อไปได้

ทั้งๆที่ผ่านการวิ่งมานานไกลแล้ว ใครไม่ฝึกคนนั้นไม่อึดวิ่งไปไม่นานก็จอดดังนั้นต้องลองฝึกดู

เพื่อสร้างความเคยชิน การวิ่งยาวไม่ได้หมายความว่ารวมเอาการฝึกสองวาระเข้าด้วยกัน

เช่น เช้าวิ่ง 3 กม.เย็นวิ่ง 4 กม. จะเท่ากับวันนั้นวิ่งยาว 7 กม. หาได้ไม่ คนละเรื่องกัน

การฝึกวันนั้นจะเท้ากับฝึกสอง Session Sessionละ 3 กม.และ 4 กม.มันไม่เหมือนกัน

ต่างที่ใน Session ตอนเย็นที่คุณเริ่มย่างก้าวแรกของการฝึก 4 กม.จะไม่เท่ากับการวิ่งที่ต่อเนื่องจาก 3 กม.

ใน Session แรก เพราะมันไม่ได้เริ่มที่ความเหนื่อยอ่อนไม่ได้เริ่มในสภาพของกรดแลคติค

ที่สะสมอยู่เต็มกล้ามเนื้อและไม่ได้เริ่มที่ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำที่ระหว่าง Session แรก

ตอนเช้าจนถึงเย็น คุณผ่านการพักฟื้น คุณผ่านมื้ออาหารที่ล้วนแต่มีกระบวนการคืนพลังงาน

ทั้งในรูปกลัยโคเจนและน้ำตาลทดแทนเรียบร้อยแล้ว การวิ่งยาว จะเป็นเสมือนการเร่งระดมซ้อมใหญ่

ในแต่ละหน้าที่พร้อมๆกันเพื่อทดสอบความพร้อมในการปฎิบัติงานเช่น ใยกล้ามเนื้อ,กระบวนการ

เผาผลาญไขมัน,และทดลองให้หัวใจทำงานหนักต่อเนื่องที่เต้นแรง,เต้นเร็ว,เต้นนาน,การเร่งระบาย

กรดแลคติคของเสียซึ่งทุกอย่างไม่ใช่ทำเฉพาะหน้าที่ใครหน้าที่มัน แต่ทุกอย่างต้องประสานสอดคล้องกัน

ให้ได้ภายในเรือนร่างเดียวกันเพื่อผลในการวิ่งยาวที่ดีที่สุด คุณควรจะวิ่งรวดเดียวไม่บวกเช้าบวกเย็น

ถ้าเป็นไปได้ รวดเดียว คืออยู่ในหนึ่ง Session ที่ไม่ได้หมายความว่าวิ่งรวดเดียวไม่ยอมกินน้ำ

ไม่ใช่อย่างนั้นรวดเดียวคือฝึกครั้งเดียว สำหรับระยะที่ยาวมากๆหรือผู้วิ่งที่วิ่งได้ไม่นานหรือไม่แน่ใจ

ในความฟิตของตนเอง ควรวิ่งช้าในเทอมของเวลาราว 2 ชม. แต่ถ้าคุณเป็นนักวิ่งที่ซ้อมมาราธอนมาดี

ต่อเนื่องเป็นเวลานานพอสมควรหลังแข่งมาราธอนแล้ว คุณจะเตรียมตัวลงระยะฮาล์ฟในสนามแข่งข้างหน้า

ในวันซ้อมยาวก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องซ้อมร่วม 30 กว่ากิโลแบบเดิมอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นในวันซ้อมวิ่งยาว

จึงน่าจะตัดระยะทางลงครึ่งหรือกว่าครึ่ง ดังนั้นหมายความว่าคุณยังมีประสิทธิภาพรับความเข้มของการฝึก

ได้อยู่อีกเพราะถือว่าได้ลดปริมาณลง แต่ถ้าจะให้เพิ่มระยะยาวมันก็เกินความจำเป็น ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่า

น่าจะเพิ่มความเข้มของการวิ่งยาวขึ้นไปกว่าเดิม เช่นเคยวิ่งยาว 30 กว่ากม.ด้วยความเร็วกม.ละ 6 นาที

ก็ควรเพิ่มความเร็วเป็น กม.ละ 5 นาทีหรือ 5 นาทีครึ่งในระยะที่สั้นกว่าเดิม

จะได้ประโยชน์จากการซ้อมมากกว่าการวิ่งระยะเดิมแต่วิ่งช้า

ต่อไปนี้คือตัวอย่างของการวิ่งยาวแบบเพิ่มความเข้ม

สำหรับผู้ซ้อมที่เตรียมตัวแข่งขันระยะ 10 กม. ให้วิ่งความเร็วระดับกลาง 13-14 กม.

ตามด้วยการวิ่ง 3 กม.ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับคุณวิ่งแข่ง 10 กม.ตามด้วยวิ่ง 3 กม.แบบวิ่งช้าๆ

สำหรับผู้ซ้อมที่เตรียมตัวแข่งขันระยะ 21 กม. ให้วิ่งช้า 9 กม.ตามด้วยอีก 9 กม.ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับ

คุณวิ่งแข่ง 21 กม.ตามด้วย 2 กม.แล้วคูลดาวน์(ช้า) ขอย้ำว่า ถ้าคุณทำไม่ได้ ?อย่าฝืน? ก็ให้ วิ่งช้า

ตลอดเส้นทางไปเลยราว 2 ชม.แต่ถ้าสำหรับคนที่ทำไหว การฝึกแบบนี้น่าจะทำให้คุณได้ประโยชน์มากกว่า

การวิ่งช้า ตลอดเส้นทางก้เวลาทันจะดีขึ้นน่ะซิครับ?.

จาก ?MAKE LONG RUN WORK? โดย OWEN ANDERSON Phd.R.W.APRIL 1999 P.40 8 ก.พ.43

*** กฤตย์ ทองคง

ขอขอบคุณ อาจารย์ กฤตย์ ทองคง สำหรับบทความที่เป็นประโยชน์กับเพื่อนนักวิ่ง

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.