สิบกิโลสุดท้าย เหมือนดั่งจะสิ้นใจ

สิบกิโลสุดท้าย เหมือนดั่งจะสิ้นใจ

สิบกิโลสุดท้าย ในที่นี้ผู้เขียนหมายความถึงระยะทางสิบกิโลสุดท้ายในการแข่งขันวิ่ง

เต็มมาราธอน 42.195 กม.ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในหมู่พวกเรานักวิ่งว่าคือช่วงที่เหลือแต่ ?เนื้อ?ล้วนๆ

ใครจะเจ๋ง ใครจะจอด ก็ว่ากันตรงนี้แหละครับ ความใฝ่ฝันแทบจะสูงสุดถึงวิธีการที่จะวิ่งให้ดีที่สุดในระยะ

มาราธอนของนักวิ่งหลายคนก็คือ ทำอย่างไร?พวกเขาจะยังคงวิ่งได้ (KEEP MOVING) ในช่วงเวลาสำคัญ

ช่วงสุดท้ายนั้นโดยไม่ต้องเดินเท่านั้นเป็นพอใจ ส่วนไอ้เรื่องความเร็วน่ะไม่มีใครเขาพูดถึงกันหรอกครับ

มันเกินฝัน ?ขอเพียงแต่จ๊อกได้ไปเรื่อยๆก็จะแซงเป็สิบๆคนหรืออาจเป็นร้อยๆคนก็เป็นได้? นี่คือเรื่องจริง

ขนาดรู้ๆกันอย่างนี้ บางคนที่ตั้งใจฝึกมาเพื่อจะให้ได้จ๊อกไปเรื่อยๆวันจริงยังกลับเดินหน้าตาเฉย

มีมาเยอะแล้วครับ แล้วก็ไม่ใช่ของแปลกเสียด้วย เพื่อนๆที่วิ่งด้วยกันในสนามทุกๆเย็นก็มีหลายระดับ

ฝีเท้า โทษที กลับไม่ใคร่มีใครใส่ใจผู้ที่วิ่งได้ดวยความเร็วกันนัก แถมยังถูกค้นด้วยเสียอีกว่า

สิบกิโลสุดท้ายยังจะวิ่งด้วยความเร็วอย่างนี้อีกไหมเสียอีกเป็นงั้นไป คนที่วิ่งมาราธอนเก่งๆจึงกลายเป็น

เพื่อนผู้สูงวัยกว่าเกือบจะทั้งนั้น คำที่ว่าเจนสนามกว่า,เก๋ากว่า,จนสามารถจัดการกับการเฉลี่ยพลังงานได้

ตลอดช่วง 4-5 ชม.ได้อย่างลงตัว ซึ่งนักวิ่งผู้อ่อนอาวุโสกว่าจะขาดแคลนคุณสมบัติเรื่องนี้ พูดให้ชัด

แพ้คนแก่นะครับ นั้นซิ แล้วแราจะทำยังไงเพื่อให้ยังวิ่งได้ในระยะสิบโลสุดท้าย

เรื่องมันสำคัญอยู่ตรง ?ซ้อมยาว? ครับ แบบที่เรียกว่าวิ่งมาแล้วสองชั่วโมงเศษก็ยังวิ่งต่อเนื่องไปได้อีก

แน่นอนครับ ให้วิ่งช้าๆ โดยใช้เข็มนาฬิกาบอกว่าวิ่งนานแล้วเท่าใด

ไม่ใช่วิ่งกี่กิโลในวันนั้น (DURATION IS THE GOAL DISTANCE) นับว่าเป็นการฝึกที่มีหน่วยนับแตกต่าง

จากวันอื่นๆ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้เขียนนั่งเทียนเอาเองครับ

โค้ชเบนจี้เขาว่าไว้ (BENJI DURDEN,A MEMBER OF 1980 OLYMPIC MARATHON TEAM)

โดยในวันซ้อมวิ่งยาวไม่จำเป็นต้องวิ่งนานจนถึงระยะเวลาที่วิ่งจริง คือให้น้อยกว่าเวลาที่คาดหมาย

สักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้วตัวอย่างสำหรับนักวิ่งที่คาดหายเวลาวิ่งในวันจริงว่า น่าจำเป็นต้องวิ่งจนถึงระยะเวลา

ที่วิ่งจริงคือให้น้อยกว่าเวลาที่คาดหมายสักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว ตัวอย่างสำหรับนักวิ่งที่คาดหมายเวลาวิ่ง

ในวันจริงว่า น่าจำเป็นต้องวิ่งนานจนถึงระยะเวลาที่วิ่งจริง คือให้น้อยกว่าเวลาที่คาดหมายสักครึ่งชั่วโมง

ก็พอแล้ว ตัวอย่างสำหรับนักวิ่งที่คาดหมายเวลาวิ่งในวันจริงว่า น่าจำเป็นต้องวิ่งนาน จนถึงระยะเวลาที่

วิ่งจริงคือ ให้น้อยกว่าเวลาที่คาดหมายสักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว ตัวอย่างสำหรับนักวิ่งที่คาดหมายเวลาวิ่ง

ในวันจริงว่า น่าจะวิ่งได้ในราว 3.30 ดังนั้นวันซ้อมวิ่งยาวสมควรวิ่งนานแค่ 3 ชั่วโมงก็พอแล้วหรือสำหรับ

นักวิ่งที่คาดหมายเวลาจริงที่น่าจะทำได้ราว 3.15 เวลาที่ต้องซ้อมยาวประจำสัปดาห์ก็ควรวิ่งแค่ 2.45 เท่านั้น

ถึงตรงนี้คงจะมีเพื่อนนักวิ่งที่อาจจะแยังว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ มีแต่ใครๆเขาซ้อมให้มากกว่าวันจริงเพื่อที่จะ

ไม่ให้หนักในวันนั้น ครับ จากประสบการณ์ของผู้เขียนบอกว่า หลักสำคัญประการหนึ่งของการซ้อมคือ

จะต้องมี ?ความสด? ด้วยครับ คือถ้ามีอาการล้าให้ปรากฎโดยปราศจากการพัก(เพื่อให้ฟืน)

คุณก็จะไม่สามารถซึมซับเป้าหมายของการฝึกในวันต่อๆไปได้ การที่วิ่งน้อยกว่าวันจริงไม่ใช่จะน้อยกว่า

ตั้งครึ่งตั้งค่อนเมื่อไร น้อยกว่านิดหน่อยเท่านั้นเอง วันจริงผู้เขียนยืนยันครับว่าเราทำได้ทำได้กันทุกคน

นั่นแหละ ถ้าการวิ่งมาราธอนเปรียบเสมือนการค้า การซ้อมเปรียบเสมือนการลงทุนและเวลาแข่งขันจริง

ก็คือการที่ขายได้กำไรนั่นหมายความว่า ต้องลงทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อที่จะได้ผลกำไรมากที่สุด คือซ้อมให้ร่างกาย

ได้รับผลมากเท่าๆคนอื่น แต่?สด?กว่าเพื่อเอา?ความสด?ไปฝึกต่อที่เปรียบกับเอากำไรที่มากกว่าไปลงุทน

ให้มากกว่าขึ้นเรื่อยๆนั่นคือซ้อมวิ่งให้น้อยที่สุด ให้สดที่สุดเท่าที่ร่างกายจะอนุญาต

แต่นั่นมิใช่หมายความว่า ลดต้นทุนต่ำลงมาขนาดซ้อมไม่ถึงครึ่ง นั่นไม่ใช่วิทยาศาสตร์ครับ ถ้าวันมันคือ

ระยะ 42.195 กม.การซ้อมที่ยาวที่สุดแค่ 38 กม.ก็เหลือพอแล้วครับ ผู้เขียนยืนยัน

ถ้าวันจริงคุณคุณกะจะวิ่งได้ 3:20 วันซ้อมแค่ 2:50 ก็พอ และถ้าเป็นดังนี้ นอกจากจะได้ผลเท่ากับ

การซ้อมยาวแล้วคุณจะได้ความสดกว่าที่คุณจะไปซ้อมเกินใช่ไหมครับ

นี่แหละครับคือใจความที่โค้ชเบนจี้ว่าไว้ ?ไม่จำเป็นต้องซ้อมให้เท่าจริง หรือเกินจริง? อย่างไรก็ดี

การที่ใครก็ตามจะวิ่งซ้อมที่เกิน 3 ชม.ขึ้นไปเห็นควรที่จะแยกออกเป็นเช้าและเย็น เพราะคุณมีแนวโน้ม

ที่จะบาดเจ็บได้มาก เช่น นักวิ่งที่คาดหมายเวลาที่จะวิ่งได้ในวันจริงที่ 4:30 ในระยะมาราธอนซึ่งทำให้ระยะ

ซ้อมวิ่งยาว ประจำสัปดาห์อยู่ที่ 4 ชม.ครับ มันแปลกดีไหมบางคนอาจเพิ่งเคยได้ยินขนาดนักวิ่งระดับ

ประเทศ ระดับชั้นนำของโลก เขาก็ไม่ฝึกกันติดต่อนานเกิน 3 ชม.ทั้งนั้น ที่เขาฝึกหนักก็จะแบ่งเป็น

เช้า 3 ชม.เย็น 3 ชม.กลางวันนอนเพิ่ม เป็นต้น ที่โค้ชเบนจี้ว่าไว้เช่นนี้เพราะจากการเก็บสถิติข้อมูล

จากผู้บาดเจ็บจากการฝึกวิ่งพอว่า มีไม่น้อยรายเลยที่ผู้บาดเจ็บวิ่งเกิน 3 ชม.ติดต่อกันขึ้นในสิ่งสำคัญที่สุด

คือ คุณต้องไม่บาดเจ็บก่อนเป็นประการแรก เรื่องฝีเท้าเรื่องความเร็วเป็นเรื่องทีหลัง จริงหรือไม่ล่ะครับว่า

ที่เรามาวิ่งกันนี้ก็ด้วยเป็นวิถีแห่งสุขภาพ ถ้าลงวิ่งแล้วเดี้ยงเราจะวิ่งกันทำไม? โค้บเบนจี้ว่า

วิ่งซ้อมยาวจริงๆสัก 5-6 ครั้งจะดี ถ้า 4 ครั้งออกจะน้อยไปหน่อยคือถ้าซ้อมยาวันอาทิตย์ก็ให้สลับอาทิตย์

คือยาวจริงๆในอาทิตย์ที่ 1 และยาวสักแค่ระยะฮาล์ฟในอาทิตย์ที่ 2 และกลับไปยาวจริงอีก

ในอาทิตย์ที่ 3 สลับอย่างนี้ไปเรื่อยๆซึ่งทั้งหมดจะกินระยะเวลาฝึกทั้งหมดราว 12-16 สัปดาห์

ที่ต้องนานขนาดนี้เพื่ออนุญาตให้ร่างกายได้ซึมซับผลได้ สรีระของมนุษย์เรา เป็นเรื่องของการพัฒนาการ

จะว่ากันปุบปับไม่ได้ที่เห็นซ้อมวิ่งผิดกันเป็นประจำคือ มาเริ่มเอาก่อนแข่ง 1 เดือน

บางรายมาว่ากันเหลืออีก 3 สัปดาห์จะแข่งเพิ่งมาเริ่มต้น อย่างนี้หมอไม่รับเย็บครับ

ความเร็วในการฝึกวิ่งยาวนี้ควรจะอยู่ในราว ข้ากว่าความเร็วที่กะจะวิ่งใน 5 กม.แรก

อยู่ราว 10 วินาทีต่อไมล์ (1.6 กม.) ที่สำคัญอีกที่พลาดกันมากคือ เรามักจะตีราคาเราสูงเกินในเสมอ

ทำให้เร็วเกินไปโค้ชเบนจี้ ยังแนะนำให้แบ่งช่วงในวันแข่งขันจริง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1

ระยะ 10-16 กม.แรกเป็นช่วงสันทนาการ พูดคุยกับเพื่อนนักวิ่งที่มีเพศใกล้เคียงกัน ไปทักทายเขา

ก่อนพยายามทำให้เรื่องวิ่งในวันนี้เป็นเรื่องที่แสนจะเพลิดเพลินไปเสีย อย่าตั้งหน้าตั้งตาวิ่งเอาๆมันยากนัก

ที่จะโฟกัสการวิ่งให้สมบูรณ์ทุกกิโล กิโลแล้วกิโลเล่าชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ?มาราธอน?

ส่วนที่ 2

ระยะ 16-32 กม.ที่วิ่งคุยกันมาก็จะเริ่มเงียบๆกันไปแล้ว แดดเริ่มออก ฝีเท้าแต่ละคนเริ่มทิ้งห่างกันออกไป

เรื่อยๆมองไปข้างหน้าก็ไม่เห็นใคร มองไม่เห็นใครมองไปข้างหลังก็มีไม่กี่คน ***ความคิดบ้าๆเริ่มครอบงำ ?นี่***มาวิ่งอยู่ทำไมวะเนี่ยะ? ส่วนใหญ่ยังเป็นช่วงที่พอมีแรงอยู่ ยังไม่ถึงกับเดิน

ส่วนที่ 3

ระยะ 32-42 กม.เป็นช่วงโฟกัสเต็มๆ นับเป็นช่วงที่การแข่งขันจริงเริ่มต้นขึ้นตรงนี้เอง ถ้าใครเตรียมตัว

ซ้อมมาดีวิ่งในส่วนที่ 1 ดี วิ่งในส่วนที่ 2 ดี ก็จะเห็นผลในส่วนที่ 3 นี้ว่ายังวิ่งได้ราบรื่น กำแพงที่มองไม่เห็น

มาแต่แรกก็จะตั้งตระหง่านอยู่ในช่วงกม.ที่ 35 นี่แหละ ความเร็วตกกันวูบวาบ มีอาการเหมือนคนที่ยังทนวิ่ง

ทั้งๆที่มีมีดปักหลังอยู่อย่างไรก็อย่างนั้นทีเดียว คนที่มายืนดูอยู่ริมถนนไม่ได้เป็นนักวิ่งก็ไม่เข้าใจว่า

?ใครเขาใช้ให้พวก***มาวิ่งกันเล่า มันไกลออกจะตายและก็ดูเอาเถอะ ขนาดมีดปักหลังแล้วยังไม่ยอมขึ้นรถ

ที่คอยตามเก็บอีก ท่ามันจะบ้า? แต่ถ้าคุณติดลมบนแล้วละก็ไม่ต้องมีอะไรต้องพูดถึง

ผู้เขียนฟันธงเลยก็ได้ว่า วันนี้เป็นวันดีที่สุดในรอบปีของคุณทีเดียว กลับมาเข้าเรื่องของเราต่อว่า ในวันแข่ง

ก่อนออกตัวควรจะกินอะไรก่อนดี เพื่อจะเกื้อหนุนให้ระยะ 10 กม.สุดท้ายยังลากขาไปได้ก้คิดดูเถอะ

ตื่นแต่เช้ามืดข้าวปลาไม่ได้กิน ออกแรงตั้ง 4-5 ชม.ติดต่อกันโดยไม่พัก มันก็เป็นคนเหล็กกันแล้ว

ตรงนี้ผู้เขียนขอมาตั้งเวทีพูดกันบริเวณกม.ที่ 30 ซึ่งไม่ว่าคุณเป็นนักวิ่งแนวหน้าหรือแนวหลัง

ตราบเท่าที่คุณไม่ใช่เทวดา จะเหมือนกันหมดคือ

1.น้ำตาลในเลือดลดต่ำ

2.ร่างกายขาดน้ำ (ดื่มน้อยไป)

3.กลัยโคเจนพร่องไปมาก

สิ่งที่พอช่วยได้

1.กินก่อนวิ่งมาราธอนสัก 1-2 ชม.ก่อนแข่งอะไรที่คุณชอบและควรฝึกกินมาตั้งแต่ซ้อมยาวด้วย ตรงนี้สำคัญ

อย่าทำอะไรที่ไม่เคยทำในวันแข่ง นี่เป็นกฎทองคำของนักวิ่งแนวหน้าทุกคน อาจเป็นขนมปังสัก 2-3 แผ่น

ขนมเค้กซักชิ้นเล็กๆกล้วยสัก 1-2 ลูก อย่าลืมว่า วันนี้ไม่ใช่ฮาล์ฟมาราธอนนะครับมันไกลกว่าสองเท่าเลย

ชีวิตมิใช่บัญญัติไตรยางค์ในโลกแห่งความเป็นจริง 42 กม.มันหนักกว่าการวิ่งฮาล์ฟสองครั้ง

อะไรๆที่ไม่เคยเกิดในฮาล์ฟแรก ก็จะมาประเดประดังกันในฮาล์ฟที่สองนี้แหละ อย่ากินที่ไม่เคยกิน

อย่ากินมากกว่าที่เคยกิน ให้กินขนาดที่ถ้าสมมุติกิน แล้วต้องวิ่งเลยก็ยังวิ่งได้ขนาดนั้นแหละครับ

2.อัดน้ำตั้งแต่ต้นมือ เมื่อคุณตื่นมาในวันแข่งขันราวอีก 2 ชม.ก่อนปล่อยตัว นั่นแหละดื่มน้ำที่เตรียมมาไว้

ตั้งแต่เมื่อคืน สัก 2 แก้ว (ธรรมดา) ถ้าเป็นแก้วเบียร์ขนาดใหญ่ มีหูจับก็แก้วเดียวเต็มๆเลย ขนาด

ประมาณ 16 ออนซ์เป็นต้นไป พูดให้เข้าใจง่ายๆมีความจุเท่ากับนมกล่องราว 2 กล่องนั่นแหละครับ

ตื่นมาดื่มเลยอย่าถามว่ายังไม่หิวหน้าเดี๋ยวตีตายเลย บังคับให้ดื่มแข็งใจซัดอักๆให้หมดรวดเดียว

ฝึกวิ่งกันเป็นร้อยๆโลวิ่งได้ ดื่มน้ำกลับมีปัญหา ปัดโธ่ 2 ชม.นี่ใกล้เกินกว่าที่จะฉี่ออกไป แต่ก็นานเกินกว่า

ที่คุณจะจุกได้เอาไว้เป็นน้ำสำรองทดแทน เพราะหลังตื่นนอน เราต้องถ่ายปัสสาวะออกเป็นจำนวนที่ไม่น้อย

กว่าที่เราดื่มเข้าไปเมื่อกี้นี่ถื่อว่าเท่าเดิมนะครับ ไม่ได้มากเลย ส่วนที่จุดให้น้ำก็ให้รับน้ำทุกจุด ถ้าคุณรอให้

หิวน้ำเสียก่อนจะสายเกินไป นั่นหมายความว่า คุณจะดื่มมันมากเกินไป สถานที่ดีที่สุดคือ

การดื่มประมาณ 5-12 ออนซ์ทุก 15-20 นาที โดยทั่วไปนักวิ่งมักจะรับน้ำน้อยเกินไป

การที่รับน้ำได้อย่างพอเพียงจะทำให้เลือดหมุนเวียนในร่างกายได้ราบรื่น จากหัวใจไปแขน ขาและทั่วร่าง

และนำเอากรดแลคติกของเสียที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญออกจากกล้ามเนื้อได้โดยสะดวกอีกด้วย

เท่ากับการที่รับน้ำมามากพอเพียง ทำให้ป้องกันตะคริวได้ ยังไม่พอครับ น้ำทำให้คุณมีเหงื่อมารักษาระดับ

อุณหภูมิ ไม่ให้เครื่องไหม้ไปเสียก่อนจะถึงเส้นชัย ถ้าคุณรับน้ำไม่พอเพียงเลือดก็จะข้นขึ้น การไหลเวียน

ของเลือดก็จะหนืดทำให้หัวใจปั๊มแรงและหนักขึ้นก็เลยเหนื่อยกว่าปกติ กลัยโคเจนก็ถูกทำให้ลดระดับ

ในอัตราที่เร่งมากขึ้นในขณะที่เราต้องการประหยัด ไปกันใหญ่เห็นไหมครับ

ถ้าคิดว่าการรับน้ำจะทำให้ช้าลง โทษทีแค่ 2-3 วินาทีเท่านั้น แต่เดี๋ยวในเส้นทางข้างหน้า

จะคุ้มค่ากว่ากันครับ เชื่อ***ฤทธิ์เถอะ ต่อคำถามว่า การรับน้ำที่มากเกินไปจะมีผลเสียหรือไม่? ไม่มีครับ

ยกเว้นจุก ถ้าดื่มในระดับที่ไม่จุกจะไม่มีโทษเลย แต่การขาดน้ำหรือรับน้ำไม่พอเพียงนั้น

เป็นเรื่องใหญ่มาก มันจะพากันรวนไปทุกระบบและก็จอดในที่สุด พูดอีกอย่างได้ว่า ดื่มให้มากที่สุด

เท่าที่จะมากได้ โดยไม่จุกนั่นแหละ ขอแถมเรื่องสำคัญก่อนจบอีกประการที่จะช่วยให้ระยะทาง

สิบกิโลหลังในระยะมาราธอนให้เป็นไปอย่างมีเรี่ยวแรงคือ การเรียวลง (TAPER) นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญ

ที่เพื่อนนักวิ่งพลาดกันเยอะ กลัวว่าจะซ้อมไม่พอบ้างหละ กลัวว่าจะยึดบางหละ กลัวว่าจะเ***่ยวบ้างหละ

ทำให้สัปดาห์สุดท้ายยังฝึกกันอยู่หนักๆทั้งนั้น แบบนี้ต่อให้แชมป์โลกก็วิ่งไม่ออกหรอกครับ การวิ่งยาวประจำ

สัปดาห์ที่หนักครั้งสุดท้าย ควรจะอยู่ราว 2-3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนวันแข่งจากนั้นก็ให้น้อยลงจางลงมาเรื่อยๆ

จนกระทั่ง 7 วันสุดท้ายให้หยุดเกือบสนิทเลย ถ้ามีธุระก็ให้ไปทำได้เลยหยุดมันทั้ง 7 วันนั่นแหละ ไม่ต้องวิ่ง

***ฤทธิ์ไม่ว่าไร ปัญหาของพวกคุณคือ ทนไม่ได้การไม่ได้วิ่ง มันเหมือนจะลงแดง

มันอยากวิ่งแล้วมันก็สดเสียไม่มีด้วย ก็มันน้อยลงมาเป็นสัปดาห์แล้วนี่ อย่าทีเดียวครับ

ใจแข็งไว้ที่ผู้เขียนบอกให้หยุดตรงนี้ของให้ตระหนักว่า มันอยู่ในโปรแกรมฝึกด้วย

หาใช่การหยุดคือการขาดซ้อมไม่ การพักคือการฝึกครับ ขอยืนยันถ้าผมเป็นโค้ชมาราธอนให้กับทีมนักกีฬา

แล้วจับได้ว่า ใครแอบไปเติมในช่วงที่ให้เรียวลง ผมจะคัดตัวออกจากทีมทันที ครับที่เล่านี่

เพื่อให้พวกเรารู้ว่ามันสำคัญมากขนาดไหร การที่ยังมีแชมป์บางคนลงจ๊อกเบาๆ 4-5 กม.ล่ะก็ได้ เป้าหมาย

เขาเพื่อเป็นการเตือนร่างกายระลึกอยู่ว่า ยังเป็นนักวิ่งอยู่เท่านั้น หาได้มีเป้าหมายฝึกเพิ่มพูนอะไรไม่

โปรดสังเกตว่า เขาจะวิ่งช้ามากขนาดวอร์มอัพเท่านั้นแล้วกลับบ้านเลย ถ้าสัปดาห์สุดท้ายคุณยังฮ้อตะบึงอยู่

เป็น 10 กม.ผู้เขียนทำนายว่า เวลา สถิติวิ่งออกมาไม่ดีหรอกครับ เคยมีเพื่อนนักวิ่งของผู้เขียนท่านหนึ่ง

ลองหยุดวิ่งในสัปดาห์สุดท้ายก่อนแข่งสนามเต็มมาราธอนดูทั้งๆที่ไม่มีแผนฝึกใดเพิ่มเติมเลย

พบว่าตัวเขาสามารถทำลายสถิติของตัวเองลงได้แบบไม่คาดคิดมาก่อนมันก็แปลกดีนะ

ทั้งๆที่แต่ก่อนนี้ ฝึกกันแทบล้มประดาตายเวลากลับยาวออกยาวออก เอ้า สารวัตรดำรง ช่วยเล่าให้พรรค

พวกฟังหน่อยครับ??.

*** กฤตย์ ทองคง

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.