วิธีฝึกวิ่งให้เร็ว….ตอนที่ 8 (เขียนครั้งแรก)

อ.เปา
ในการซ้อมวิ่งแบบ FartleK หรือ Speedplay ในช่วงที่ 7
กล่าวไว้ตามแบบของทฤษฏี คือ วิ่งด้วยความเร็วหลายๆแบบ

จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า…ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตอนไหน ?
ตอบว่า…ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตอนที่นักวิ่ง…วิ่งเร็วกว่าที่เคยวิ่ง
วิ่งเร็วกว่าแล้ว..ไม่เห็นจะเข้าใจ…มันจะทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นได้ยังไง

ผมขอทบทวนว่า…ร่างกายเราจะพัฒนา..ต้องมีความขาดแคลนเกิดขึ้น
ตอนที่เราวิ่งให้เร็วกว่าเดิม…จะเกิดการขาดแคลนภายใน
อย่างแรก….อากาศไม่พอร่างกายก็เร่งการหายใจ
การสูบฉีดโลหิตไม่พอ…หัวใจมันก็เต้นแรงขึ้น
อาการขาดแคลนนี่แหละคือการฝึกให้เร็วขึ้น

เร่งมากๆ…เราก็หอบ อาการหอบนั่นแหละคือสัญญาณว่ากำลังขาดอากาศ
อาการหัวใจเต้นแรงขึ้น ..คืออาการวิ่งจำเป็นต้องเพิ่มแรงดันเลือด
ดังนั้น…หากเราฝืนวิ่งด้วยความเร็วมากกว่าปกติอีกเล็กน้อย
จริงอยู่เราวิ่งได้เร็วขึ้นแล้ว…แต่มันไม่ถาวร
ปัญหาจึงเกิดว่า…จะทำให้ความเร็วใหม่นี้มันถาวรได้ยังไง

จะให้เป็นการถาวร…ต้องให้ร่างกายมีโอกาสพัฒนา
ต้องให้ร่างกายรับรู้ว่าขาดแคลนจริงๆ โดยการทำซ้ำ ทำบ่อยๆ
หลักมันมีอยู่อย่างนี้…การฝึกจึงต้องทำให้ขาดแคลนเล็กน้อย พอทนได้

ตอนพัฒนา…ยังไงเราก็ไปเร่งมากไม่ได้
เพราะการพัฒนาร่างกายต้องปรับปรุงตนเองอย่างช้าๆ
หลักของการฝึก…จึงต้องทำสม่ำเสมอ ใครขี้เกียจ คนนั้นสอบตก

หลายสำนัก…จึงต้องค่อยๆเพิ่มความหนักการฝึกทีละนิดๆ…
เหตุผลก็คือ…รอการพัฒนาของร่างกาย
เมื่อร่างกายชินชากับความเร็วใหม่แล้ว…อาการหอบก็ไม่มี
หัวใจที่เคยเต้นแรง…มันก็เต้นช้าลง
แต่การเต้นช้าลง..ไม่ได้สูบฉีดน้อยลง มันสูบฉีดมากขึ้น

การที่จะพัฒนาความเร็ว จึงจำเป็นสร้างความขาดแคลนอยู่เรื่อยๆ
เหมือนกระตุ้นให้อวัยวะภายในพัฒนาแบบไม่หยุดหย่อน

แต่หากว่านักวิ่งเกิดใจร้อน..ซ้อมวิ่งเร็วแบบแรงๆระเบิดเถิดเทิง
ด้วยคิดว่า…ยิ่งแรงยิ่งดี ถามว่าแล้วการพัฒนาจะเป็นยังไงกัน ?
การขาดแคลนถ้ามีมาก…ถามว่าการพัฒนาจะเร็วมากตามหรือไม่ ?
คำตอบคือ…ระบบภายในกลับจะกลายเป็นชอกช้ำจากการฝึก
ต้องเอาเวลาพักฟื้นไปซ่อมแซมร่างกาย
ฝรั่งมันเรียกว่าโอเวอร์เทรน หรือฝึกหนักเกินไป

จึงมีจุดสำคัญระหว่างการฝึกกับการทำลาย
เพราะการฝึกหนักเกินไป..แทนที่ร่างกายจะพัฒนา…กลายเป็นความเสียหาย
นักวิ่งต้องสังเกตุอาการหลังการฝึกว่าเป็นอย่างไร
สมมุติว่ามีอากร..
.-มีไข้หลังการฝึก ต้องเข้าใจว่าเกิดบาดแผลภายในกล้ามเนื้อจนอักเสบ
-มีอาการปวดเมื่อยค้างอยู่นาน ไม่อยากหาย…
-มีอาการเจ็บตามข้อต่อต่างๆ…
-วันถัดมาทำความเร็วที่เคยซ้อมไม่ได้
-เบื่อหน่ายการฝึกขึ้นมาดื้อๆ
อย่างนี้เป็นสัญญาณว่า…ข้าพเจ้าแรงเกินไปแล้ว
นักวิ่งต้องพักผ่อนแล้ว…กลับตัวเสียใหม่

การวิ่งแบบหลายๆความเร็ว…ทุกช่วงการวิ่งมีประโยชน์
ในช่วงวิ่งเร็ว…ก็มีประโยชน์ เรียกว่าอยู่ในช่วงวิ่งแบบไม่ใช้อากาศ
ในช่วงวิ่งช้า…ก็มีประโยชน์ เรียกว่าวิ่งอยู่ในช่วงวิ่งแบบใช้อากาศ
การสลับเร็วช้า…ก็คือประโยชน์เช่นกัน การฝึกแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก

อย่าคิดว่า…อัดเร็วตลอดช่วงการฝึก โดยไม่มีอะไรใหม่จะทำให้วิ่งเร็วขึ้น
นักวิ่งต้องคอยสร้างความเร็วใหม่ทีละนิดๆ…ๆ
หากฝึกวิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม….10 ปีผ่านไปก็มีความเร็วเดิมเท่านั้น

บทความนี้จึงบอกว่า..ต้องเปลี่ยนความเร็วให้เร็วขึ้นๆ ถ้าต้องการความเร็ว
ขืนตะบี้ตะบันซ้อมทั้งวันทั้งคืน…..ไม่เปลี่ยนความเร็ว
ยังไงก็ได้แต่ความเร็วเก่า ไม่อาจไปแข่งกับใครได้

มีหลักง่ายๆ…แบบไม่ต้องใช้เครื่องมือคือ…
วิ่งให้มีอาการหอบนิดๆ…วิ่งให้ใจเต้นแรงพอสมควร แล้วแต่เราจะสังเกตุตัวไหน

ถ้าเอาแบบง่าย..รู้ผลขณะฝึก…ก็คอยสังเกตุอาการหายใจ…ให้หอบนิดๆพอทนได้
จากนั้น…ก็คงความหอบนิดๆ….เอาไว้นานๆ
ถ้าวิ่งแล้วไม่มีอาการหอบ…ความอดทนก็คงที่แค่นั้น

ในขณะฝึก…ต้องมีระยะผ่อนคลายความเครียดให้แก่ร่างกายบ้าง…
ร่างกายมันจะกลับไปทำการบ้านเวลาที่เรานอน…
มันจะพัฒนา…เพื่อให้เราเลิกหอบเอง

เมื่อเราได้ความเร็วใหม่แบบไม่หอบเสียแล้ว…เราก็ต้องเร่งความเร็วขึ้นอีกนิด
การพัฒนาความเร็ว…ก็จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ….
และที่เราไม่สังเกตุคือ…ร่างกายเราพัฒนาด้านอื่นควบคู่ไปด้วย
ด้านอื่นไม่ต้องกล่าวถึง..เพราะมุ่งที่จะพูดถึงแต่ความเร็ว…ก็ขอแสดงไว้แค่นี้

เมื่อใดที่เราเร็ว…แต่ไม่หอบ
และหากความเร็วนี้ได้ถ้วยแล้ว..ก็หมดความจำเป็นที่จะต้องเร่งอีก
หน้าที่ก็เพียง…รักษาความฟิตไว้เท่านั้น

ส่วนว่าจะวิ่งเร็วให้เกิดอาการ “ลอย” คือวิ่งเบา..วิ่งเร็ว..วิ่งสบายวิ่งแบบมีความสุข
ต้องขอเก็บเอาไว้พูดเวลาอื่น

อ.เปา
โดยคุณ อ.เปา (58.9.142.113) [13 พ.ย. 2550 เวลา 09:42] #205887 (4/19)

เรียน คุณ neverland คุณ หมอหมง คุณ jerri พระราม9

ขอเรียนว่า แท้จริงตำรามีอีกสำนวนหนึ่ง
ผมเอามาเขียนให้นักวิ่งเข้าใจ ในสำนวนลูกทุ่งแบบนี้ คืออ่านง่าย
หากเข้าใจก็จะเกิดประโยชน์ ง่ายต่อการฝึก
คือไม่ว่านักวิ่งจะมีโค้ชดีเพียงใด…ที่สุดก็ต้องลงมือฝึกซ้อมทุกคน

การฝึกซ้อมที่ไม่มากเรื่อง…ก็ดูที่การหายใจ…
มีเงินขึ้นมาหน่อย..ก็ไปซื้อเครื่องวัดการเต้น…คือดูการเต้นของหัวใจ
หากฝึกซ้อมกันแบบสบายๆ…เอาอย่างที่ว่ามา…คือดูอาการหอบเอาไว้

การฝึกซ้อมเพื่อให้เกิดความเร็วใหม่…คือเรื่องที่กำลังเขียน
เหมือนว่านักวิ่งคุยกับนักวิ่ง…

ในบทนี้ผมขอสารภาพว่า..ผมยังย้ำอยู่ที่เดิม..เพราะ..ผมเกรง
เกรงว่า..นักวิ่งต่างจังหวัดที่ได้อ่านแล้ว..เอาไปซ้อมกันแบบไม่เข้าใจ
อาจเกิดผลเสียแก่ตัวนักวิ่ง…หน้าที่ผมจึงต้องเขียนด้วยควรระมัดระวังที่สุด
เพราะผมทราบจากการไปวิ่งว่า…มีคนตามอ่านอยู่
อาจจะเห็นความยืดยาด…ขอให้คิดว่า..เป็นความพยายามอธิบายเท่านั้นเอง
ท่านเพียงอ่าน…ไม่ยาก
แต่ผมต้องรับผิดชอบด้วย…หากแสดงอะไรผิดๆออกมา

การซ้อมต้องซ้อมเพื่อการค่อยๆพัฒนา…ไม่มีทางลัดจริงๆ
ดังนั้นนักวิ่ง..ต้องคอยสังเกตุร่างกายตนเองเอาไว้
ความเร็วที่ปรับขึ้นมาชั่วคราว…ทำได้…แต่ไม่ใช่ความสำเร็จ
ความสำเร็จในการฝึกซ้อม…ต้องเป็นความเร็วที่ถาวร มั่นคง ไม่เหนื่อย
หนทาง….ต้องตามการพัฒนาของร่างกายด้วย

น่ายินดีครับ..เขียนแล้วมีคนมาคุยด้วย…

อ.เปา
ผมยอมรับว่า…ชอบอ่านเรื่องวิ่งมานานแล้ว
กว่าจะออกฝึกวิ่ง ก็หาความรู้เรื่องวิ่งจากหนังสือหลายเล่ม
ส่วนมากก็เป็นวิชาการล้วนๆ…เพราะคุณหมอนักวิ่งท่านถ่ายทอดไว้
ความรู้เกล็ดเล็กเกล็ดน้อย..จึงไม่มี

พอผมมาเป็นนักวิ่ง…ก็อาศัยคุยกับนักวิ่งรุ่นเก่าช่วยบอก
ผมไม่ค่อยอายเวลามีคำถาม..
เสียดายหนังสือวิ่ง..ไม่ค่อยเอาเรื่องเล็กๆน้อยมาแสดง

จำได้…ผมได้อ่านหนังสือเก่าๆย้อนไป 20-30 ปี
เรื่องวิ่งที่เราพูดกันทุกวัน…เหมือนเกิดซ้ำ
ปัญหาของนักวิ่ง…ก็เกิดซ้ำๆ
คำถาม….ก็ซ้ำๆ
ย้อนรอยไป 20-30 ปี…วงการวิ่งยังเป็นแบบนี้…อนาคตก็แบบนี้

เวลาผมไปซ้อมวิ่งผมชอบตั้งปัญหาแล้วค้นคำตอบ
เช่นเวลาวิ่งอะไรลงก่อน…..คำตอบคือส้น……กลาง…ปลาย
คืออาการวิ่งช้า…ปานกลาง…เร็ว การลงเท้าจะแตกต่าง

ผมวิ่งมา 10 ปี ความเร็วก็เท่าเดิม ผมก็ตั้งคำถามว่า…ทำไมไม่เร็วขึ้น
คำตอบคือ…ผมวิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม…มันก็ไม่มีอะไรใหม่
รู้อย่างนี้…ควรบอกรุ่นหลังๆว่า…อยากเร็วต้องวิ่งให้เร็ว
อยากเร็วขึ้น…ต้องซ้อมให้เร็วขึ้น…แบบพอดีๆ
ความพอดี…คือพัฒนาอย่างปลอดภัย…ไม่บาดเจ็บ

เรื่องที่จะรวบรวม…ถ้าจะให้ง่าย…ไปหาหนังสือ อ.กฤตย์มาอ่านดีกว่า
ท่านนี้…เขียนบอกนักวิ่งแบบสุดจิตสุดใจ…ราคาไม่แพงด้วย
ผมเพียงชอบถามชอบคุย…ก็เลยบรรยายแบบท่วมทุ่งอยู่เรื่อยๆ

คุณนักวิ่งแถวสอง

ในช่วงวิ่งเร็ว…ก็มีประโยชน์ เรียกว่าอยู่ในช่วงวิ่งแบบไม่ใช้อากาศ

ถ้าเราไม่ใช้อากาศ แล้วจะหายใจอย่างไรครับ

ผมว่าไม่น่าจะถูกต้อง ที่ถูกน่าจะเป็นการใช้ทังสองอย่างทั้งอากาศและไกลโคเจน

อ.เปา
คุณ นักวิ่งแถวสอง ครับ

สำนวนแบบที่เขียนนี้ผมก็กล่าวแบบวิชาการเขาว่าไว้เหมือนกัน
ก็คิดเหมือนกันว่า ไม่ใช้อากาศ จะหมายว่า ไม่หายใจหรืออย่างไร
ขออธิบายว่า ไม่ใช้อากาศก็ยังต้องหายใจอยู่
แล้วไม่ใช้อากาศ..จะหมายความว่าอย่างไรเล่า ?

ขอเรียนให้เข้าใจว่า….มนุษย์ สัตว์ พวกหนึ่งใช้อากาศ ในการสร้างพลังงาน
คำว่าอากาศ ชี้เป้าลงไปก็คือ ออกซิเจน
พูดกันมานาน แบบไม่ใช้อากาศ ก็เข้าใจว่าแบบไม่ใช้ออกซิเจน

สัตว์อีกจำพวกหนึ่ง ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นพลังงาน มันก็มีวิธีสร้างพลังของเขาเอง
ดังนั้นการระบุว่า..ใช้/ไม่ใช้ อากาศ ก็คือ ออกซิเจน

แต่มนุษย์ เป็นสัตว์ที่ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน
เวลาที่ออกซิเจนไม่พอ…มันก็ไปดึงเอาจากกล้ามเนื้อ
ถ้าเราลองกลั้นลมหายใจเราก็ยังวิ่งได้อยู่ดี แสดงว่าอากาศอยู่ในเลือด กล้ามเนื้อ มีอยู่ก่อนแล้ว

แปลว่า…ยังไงก็ใช้อากาศอยู่ดี ใช้จากการหายใจ หรือ ใช้จากกล้ามเนื้อ
ให้เข้าใจตรงนี้ไว้ก่อนว่า…สำนวนความหมายเป็นอย่างนี้
ที่คุณเข้าใจว่า.. ที่ถูกน่าจะเป็นการใช้ทั้งสองอย่างทั้งอากาศและไกลโคเจน
นั้นถูกต้องแล้ว…แต่เราจะเล่นกับความเร็ว
ต้องพัฒนาการใช้อากาศด้วย

ทีนี้ก็มาถึงคำถามว่า….
แล้วเมื่อไหร่จะใช้จากการหายใจ เมื่อไหร่จะใช้จากกล้ามเนื้อ
(แสดงว่าในกล้ามเนื้อก็ต้องสะสมออกซิเจนไว้ในรูปใดรูปหนึ่ง
ไม่ได้แปลว่ามีอากาศเป็นโพรงในกล้ามเนื้อ)

พอเราวิ่งเร็ว…การหายใจก็ไม่ทัน…อากาศก็ไม่เพียงพอ
วิชาการเหมาว่า…ไม่ใช่อากาศ ต้องเข้าใจว่ามันจำเป็นต้องไปเอาอากาศจากกล้ามเนื้อ
บางทีก็เรียกว่า…เป็นหนี้ออกซิเจน…คือไปยืมเอาจากกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อก็ขาดอากาศที่สะสมไว้

การโดนยืม…กล้ามเนื้อก็เกิดกรดแลคติดขึ้นมา ทำให้ปวดเมื่อย

พอเราวิ่งช้าลง..อากาศเหลือเฟือ…ก็เอาไปคืนให้กล้ามเนื้อ
เวลาผ่อนการวิ่ง จึงรู้สึกหายปวดเมื่อย..
เพราะอากาศไปแก้ไขภาวะกรดแลคติดเรียบร้อย

ดังนั้นเวลาพูดใช้/ไม่ใช้ อากาศ…ควรเข้าใจว่า…พอ หรือ ไม่พอ

การอธิบายว่า..วิ่งเร็วอยู่ในช่วงไม่ใช่อากาศ…ไม่แปลว่าไม่หายใจ
ต้องแปลว่า…อากาศที่หายใจได้…ไม่เพียงพอต่อการวิ่ง…เรื่องที่ตามมามีอีก
อาการไม่พอ…เราจะหอบ เพื่อเพิ่มอากาศ

ผมจึงต้องอธิบายว่า…เราวิ่งให้อากาศไม่พอ..คือวิ่งเร็วจนมีอาการหอบ
อาการหอบนั้นแหละ..ทำให้ร่างกายต้องพัฒนา
เพราะเมื่อเราทำซ้ำ ทำบ่อยๆ..ร่างกายต้องปรับตัวเองขึ้น

เช่นกันหากเราเอาแต่นั่งๆ นอนๆ…..ร่างกายมันก็ปรับลง
ที่ปรับลงเพราะอากาศมีเหลือเพือ…สำหรับคนขี้เกียจ
พอมีความเหลือเพือ…ร่างกายก็ปรับตัวลง
นักวิ่งที่ขาดซ้อมนานๆ…ความฟิตจึงลดลง
การฝึกซ้อม…ก็คือหยุดการลดลงของความฟิต ทั้งยังพัฒนาเพิ่มความฟิตได้ด้วย

ถ้านักวิ่งจะเข้าใจกลไกในการวิ่ง…ต้องมองทะลุเข้าไปถึงกล้ามเนื้ออย่างนี้
ระดับชาติ..ทะลุเข้าไปถึงหลอดเลือด…ทะลุเข้าไปถึงน้ำเลือด..ทะลุเข้าไปถึงเม็ดเลือดแดง
เหล่านี้เป็นกลไกที่เราต้องฝึกซ้อมเพื่อพัฒนา…แต่
เราทำได้เฉพาะภายนอก…คือวิ่งให้เร็วขึ้น
ส่วนภายใน…กลไกธรรมชาติจะเกิดแบบอัตโนมัติ
คนขยัน…ก็พัฒนาเร็ว
คนขี้เกียจ…ก็พัฒนาช้า…

หลักการฝึกซ้อม…จึงต้องทำให้สม่ำเสมอ

ขอขอบคุณที่สงสัยแล้วรีบถาม…เพราะบางคำใช้มานาน
เข้าใจคนเดียว…ก็เป็นอย่างนี้

คุณภูมิชีวิต

เรียน อ.เปาครับ….ผมเป็นคนหนึ่งที่อ่านบทความนี้แล้วได้อานิสงส์อย่างมากมาย แต่เสียดายที่ผมเพิ่งได้มาอ่าน…เพราะผมขาดความรู้นี้จึงทำให้ผมไม่สามารถพัฒนาร่างกายของผมให้ดีขึ้นได้ ขณะนี้ผมวิ่งแล้วเจ็บที่กระเพาะอาหารมาก หยุดซ้อมมาประมาณ 1 เดือนกว่าแล้ว …เพิ่งมาอ่านพบบทความนี้แหละเสียดายช้าไปนิดนึง….หากอ.เปามีคำแนะนำสำหรับคนป่วยอย่างผมบ้างก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ (ผมเคยผ่าตัดกระดูกสันหลัง เพราะผมเดินไม่ได้ มีปํญหาหมอนรองกระดูกครับ ) อ้อ…ที่ผมเจ็บกระเพาะอาหารคุณหมอบอกเป็นเพราะผมกินเผ็ดจัดมากครับ

อ.เปา
สวัสดีครับ คุณ ภูมิชีวิต

หลังจากที่แนะนำตัวแล้ว…ก็เป็นที่รู้จักกันดี
ยังไงก็อยากเชียรให้คุณเป็นกำลังใจคนป่วยต่างๆ
ได้หันมาออกกำลังกาย รักษาตัวเองครับ

เรื่องที่เจ็บกระเพาะ…คงบอกอะไรไม่ได้หรอกครับ
ร่างกายเรามันอัตโนมัติ เวลามีป่วยมันก็แจ้ง
เราอย่าขืนไปทำให้มันเจ็บมากกว่าเก่า
หากเป็นเพราะกินเผ็ด…ก็ต้องงดกินเผ็ด
หากวิ่งเร็วแล้วเจ็บ…ก็วิ่งให้เบาลง
เบาให้เกิดการรักษาตัวเอง

ผมมีปัญหาที่เข่า..วิ่งแล้วเจ็บ…ผมก็ใช้วิธีวิ่งน้อย วิ่งเบา
ไม่กินยา ไม่หาหมอ ไม่หยุดวิ่ง
เดี๋ยวนี้ร่างกายเป็นปกติแล้ว…เชื่อว่าร่างกายรักษาตนเองได้
เราอย่าไปรบกวนการรักษา เราอย่าไปตะบันดื้อเอาแต่ใจตัว

เรื่องเจ็บกระเพาะ…ถ้าเป็นแผล…ต้องรักษาก่อน
เวลานี้การรักษาแผลสดๆในกระเพาะมียาทำได้…
แต่หากไม่มี…เอาแบบโบราณคือกินขมิ้น
ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน…ขมิ้นอะไรก็ได้ กินเป็นอาหาร
พืชจำพวกนี้..มันรักษาแผลสดภายใน
จำได้..ผมเคยทำเป็นยารักษาโรคขาย ทำมานานหลายปีแล้ว..
.เอาขมิ้นมาบดเป็นผงแล้วขาย กำไรมากมาย
ความจริง…ต้องระวังเรื่องภายในให้ดี…มันยากในการรักษา

หากมันเกิดจากกรรม…ก็อุทิศบุญไปตามหนังสือที่ผมส่งให้
บางครั้งเราไม่รู้ว่าโรคมันสาเหตุอะไร…รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย

ครับนักวิ่งเคยวิ่ง..มันก็อยากวิ่ง…
แต่มีอาการเจ็บ…ทำได้ก็แค่เดินเร็วๆ…หรือวิ่งให้ช้าไว้
ก็คงได้แต่ภาวนาให้คุณภูมิชีวิตหายเร็วๆครับ
คำแนะนำวิ่งไปทนเจ็บไป…อย่าดีกว่า

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.