การใช้ Heart Rate Monitors (HRM)

การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ สะท้อนความหนักเบาในการซ้อม
และยังสะท้อนความสามารถการใช้อากาศในการทำงานวิ่ง

หากร่างกายทำงานหนัก..หัวใจก็ทำงานหนักตามไป
สะท้อนออกมาว่า…หัวเต้นแรงขึ้น

หากร่างกายทำงานเบา..หัวใจก็ทำงานเบาตามไป
สะท้อนออกมาว่า…หัวใจเต้นเบาลง

การซ้อมหนักเบา…มีผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
ซ้อมหนักเกินไป..ร่างกายย่อมบอบช้ำ
ซ้อมเบาไป…การพัฒนาก็ไม่เกิด
ความพอดี..คือความถูกต้อง….
การดูความถูกต้อง…ก็ดูได้จากการเต้นของหัวใจ
หลักอันนี้…เป็นหลักของโค้ชโดยทั่วโลก

การวัดการเต้นของหัวใจนั้นง่าย..แม้เป็นค่าที่อาจดูว่าหยาบๆ..
ก็บอกอาการของร่างกายโดยรวมได้..อย่างรวดเร็ว

นักวิ่งที่ฝึกซ้อม…ย่อมต้องควบคุมความหนักมิให้มากเกินไป
ทั้งยังสามารถกำหนดความหนักให้อยู่ในเกณท์พอดี…
ไม่เกิดการบาดเจ็บ..และ สามารถพัฒนาสมรรถภาพได้

การวัดอัจตราการเต้นหัวใจจึงเหมาะสำหรับผู้ที่จริงจังกับการฝึกซ้อม..
ที่หวังผลในการแข่งขัน…ภายใต้ความควมคุมของผู้ฝึกสอน

ก่อนการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ…
ต้องทราบความสามารถสูงสุดของแต่ละคนก่อน

ซึ่งได้จากสูตร อัตารการเต้นสูงสุด = 220 – อายุ

220 นี้…คืออัตราการเต้นของทารกแรกเกิด…คือ 220 ครั้ง /นาที
อัตรานี้จะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้นเมื่อทราบอัตราการเต้นสูงสุดแล้ว….ก็กำหนดความหนักเบาได้ เช่น
การซ้อมเบา…ควรอยู่ที่ 50 %
การซ้อมหนักควรอยู่ที่ 90 %
การซ้อมสบาย…ก็กำหนดเอาจากนักกิฬาเอง..ของใครของมัน

พวกฝรั่ง..ทำอะไรชอบมีหลักเกณท์ที่แน่นอน
พวกนี้ชอบที่จะตรวจดูอัตราการเต้นของหัวในเป็นหลัก…
ทำให้การพูดคุยรู้เรื่องได้ดี
ทั้งยังสามารถกำหนดคว่ามหนักเบาได้ง่าย

นักวิ่งไทยควรหันมาสนใจเรื่องนี้ให้ดี
เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความปลอดภัยในการฝึกซ้อม…
ทั้งยังเห็นการเปลี่ยนแปลงได้

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.