เร็วเป็นเร็ว ช้าต้องช้า

เร็วเป็นเร็ว ช้าต้องช้า

เคล็ดที่ไม่ลับ ของการวิ่งให้ประสพความสำเร็จมีอยู่หลายประการในจำนวนนี้ มีอยู่ข้อหนึ่งที่น่าใส่ใจก็คือ

ดูว่าแชมป์คนอื่นเขาฝึกกันอย่างไร? จะเรียกว่า ?เลียนแบบ? ก็คงจะได้ตรงที่ถ้ามันทำได้แต่บางอย่าง

ก็ต้องเอามาปรับใช้ในกรณีที่มันเหมาะกับตัวเราเพราะเรา ?เลียนแบบ? ก็เพื่อที่จะให้วิ่งได้ดีขึ้น

ไม่ใช่ให้ ?เลียนแบบ? แล้วกลายเป็น ?เดี้ยง? แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร? ลองพยายามเอามาปรับใช้ดู

โปรแกรมฝึกของแชมป์ที่จะพูดถึงวันนี้เป็นแชมป์หญิงชาวอเมริกันจากเมืองสโนเคน วอชิงตัน

เธอชื่อ KIM JONES เธอเป็นนักวิ่งที่มีชื่อเสียงอยู่ในระหว่างปี 1986-1991 และเป็นนักวิ่งหญิงที่มีฝีเท้า

อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก เมื่อปี 1989 สถิติเต็มมาราธอนที่เธอเคยทำได้คือ 2:26:40 ในสนามบอสตัน

มาราธอนปี 1991 ทำให้ชื่อของเธอติดทำเนียบนักวิ่งระยะไกลหญิงที่มีฝีเท้าเป็นอันดับที่สาม

คิม โจนส์ มีเป้าหมายการฝึกที่โฟกัสความเข้มไปที่กุญแจสองดอก ที่จะพาเธอไปสู่ความสำเร็จในการวิ่ง

ระยะไกลนั่นคือ ความเร็ว และ ความอึด เธอเริ่มต้นโปรแกรมที่การยืดเส้นและอุ่นเครื่องที่นานมาก

โปรดสังเกตว่าการอุ่นเครื่องของเธอนานจริงๆราว 20-30 นาที หรือที่ความไกลราว 4 ไมล์ ซึ่งตรงนี้ผู้เขียน

เห็นว่า นักวิ่งบ้านเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการอุ่นเครื่องเหมือนเขา ติดตามต่อมาด้วยการวิ่ง

ที่มีความเร็วเท่ากับการแข่งระยะทาง 10 กม.วิ่งไปประมาณ 10 นาที ทั้งหมดสามเที่ยวครับและพักจ๊อกเบาๆ

ระหว่างเที่ยวนานสามนาที ให้วิ่งช้านะครับ เพื่อเป็นการพัก จะได้มีแรงอัดในเที่ยวต่อไป

ประมาณขนาดช้ากว่าความเร็วที่ใช้แข่งวิ่งเต็มมาราธอน ราว หนึ่งนาทีต่อกม.

คิม โจนส์ เล่าว่า เธอวิ่ง 5:35 นาที/ไมล์ ระหว่างการแข่งขันมาราธอน ดังนั้น เธอจึงวิ่งจ๊อกสลับในโปรแกรม

การฝึกครั้งนี้ที่ 6:35 นาที/ไมล์ เอาหล่ะครับ พอเสร็จ 3×10 นาที ที่ว่านี้ก็ให้เย็นเครื่องลงเท่ากับการอุ่น

ตอนต้นคือ ราว 20-30 นาทีนั่นแหละ จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาการฝึกจะใช้จ่ายไปกับการอุ่นเครื่อง

และการเย็นลงไล่ๆกับการฝึกจริงๆ ลำพังการฝึกก็ไม่นานเท่าไร แต่ขอให้เข้มข้นเป็นไปตามสูตร

อย่าหย่อนลง การที่จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการอุ่นเครื่องถึงที่และการจ๊อกที่เบาสบับเป็นการพักฟื้น

จะต้องช้าจริงๆพวกเราส่วนมาก พอวิ่งช้าก็ช้าไม่จริงทำให้พอวิ่งเร็วก็เลยได้ไม่เร็วจริง เป็นงั้นไป

การฝึกแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายขับกรดแลคติค และมันจะถูกกำจัดไปด้วยการเย็นเครื่องนี่เอง

แต่การฝึกก็ไม่นานพอที่จะทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ อีกประการหนึ่ง มันเท่ากับเป็นการฝึก

ให้ร่างกายเป็นหนี้อากาศ เวลานักกีฬาหายใจไม่ทัน ก็ให้ซื่อสัตย์เข้าไว้ กัดฟันอย่าเพิ่งใจอ่อน

ก่อนเวลา 10 นาที ดังกล่าว เพราะในเหตุการณ์วันแข่งเราจะอ่อนลงไม่ได้เหมือนกัน ช่วงที่ทรมานนั้น

ขอให้รู้ว่า มันกำลังเป็นช่วงหัวกะทิ ที่ร่างกายเรากำลังจะได้อะไรๆชนิดที่เต็มเนื้อหาสาระ

จำไว้ว่า เร็วเป็นเร็ว อึดเป็นอึด ช้าเป็นช้า พักเป็นพัก สัปดาห์ละครั้งก็พอ

จงอย่าเอาทั้ง 4 อย่างมาชงใส่แก้วกวนให้เข้ากันแล้วดื่มเป็นอันขาดมันจะกลายเป็น

วอร์ม ก็ไม่ใช่วอร์ม เพราะเร็วกว่าวอร์ม

เร็ว ก็ไม่เร็ว เพราะอัดไม่ขึ้น

ช้า ก็ไม่ช้า เพราะใจอยากให้เร็ว

อึด ก็ไม่อึด เพราะไม่ยอมช้า

วนเวียนเป็นงูกินหาง โอเคครับลองเอาไปปรับใช้ดู …..

*** กฤตย์ ทองคง

ขอขอบคุณ อาจารย์ กฤตย์ ทองคง สำหรับบทความดี ๆ ครับ

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.