Cool Down สำคัญแค่ไหน

จากการสังเกตเพื่อนๆ ที่ซ้อมด้วยกัน มักละเลยการคูลดาวน์ โดยเฉพาะวันวิ่งเร็ว (ทั้งซ้อมทั้งแข่ง) พอวันรุ่งขึ้น เขาจะรู้สึกขาตึงๆ หรือขาล้าๆ จนบางครั้งอาจไม่ค่อยอยากจะซ้อม ซึ่งถ้าไม่ใช่วิ่งหนักเกินไปแล้ว อาจเป็นเพราะการละเลยการคูลดาวน์นี่เอง

เนื่องจากการวิ่งในช่วงแอแนโรบิค (วิ่งเร็วตอนซ้อม เช่น ลงคอร์ท interval) ร่างกายเราจะกำจัดกรดแลกติกไม่ทัน ทำให้เกิดการสะสม (เป็นหนี้ออกซิเจน) ซึ่งช่วงท้ายของการซ้อม เราจะรู้สึกล้ามาก แต่พอเราผ่อนความเร็วลงหรือพักสักหน่อย (ได้รับออกซิเจนชดเชย) รู้สึกมีแรงกลับขึ้นมาอีก (บางคนเรียกว่าก๊อก 2 แต่จริงๆ คือร่างกายเราสามารถกำจัดกรดแลกติกที่สะสมออกไปได้บ้างแล้ว)

อย่างไรก็ตาม กรดแลกติกบางส่วนมันยังคงคั่งค้างในกล้ามเนื้อของเราอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งถ้าเราไม่ขยับเขยื้อนร่างกายเราต่อไปเมื่อวิ่งเสร็จ เพื่อให้เลือดยังคงเหมุนเวียน (ในระดับแอโรบิก) การที่จะกำจัดมันออกภายหลังจะยากขึ้น และถ้ามันยังคงค้างอยู่ เราก็อาจจะรู้สึกล้าและปวดตื้อที่กล้ามเนื้อได้ ซึ่งผมเคยอ่านคำแนะนำในเวบเมื่อนานมาแล้ว (เวบที่อ้างไว้ ไม่รู้ยังอยู่ปรือเปล่า) จึงแปลแบบย่อๆ ตามความเข้าใจ

การคูลดาวน์ (the complete cooldown by Owen Anderson from www.runnersworld.com/training/oacooldn.html แปลและเรียบเรียงใหม่)

6 วิธีที่ทำให้แน่ใจได้ว่า การฝึกวันนี้ได้เตรียมความพร้อมของตัวคุณในการฝึกวันถัดไป

การฝึกซ้อมในแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติแต่ละขั้นตอนร่วมกัน

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณฝึกซ้อมประจำวันอย่างสมบูรณ์ ด้วยการคูลดาวน์ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อฟื้นร่างกาย ขณะเดียวกันก็เตรียมตัวเพื่อการวิ่งในวันถัดไป ทั้งร่างกายและจิตใจ ต่อไปนี้เป็น 6 วิธีที่แน่ใจได้ว่าคุณได้คูลล์ดาวน์อย่างเรียบร้อย

1.หลังจากฝึกซ้อมเสร็จ ให้จ๊อกสบาย ๆ 10-12 นาที จะช่วยให้ลดความเครียด ตึง ของระบบเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อขา และกลับเข้าสู่สภาวะปกติของร่างกายและจิตใจเหมือนก่อนการซ้อม ยกเว้นถ้าคุณฝึกหนักทุกวัน และกินคาร์โบไฮเดรทไม่เพียงพอแก่การชดเชยไกลโคเจน หรือพลังงานที่สะสมในกล้ามเนื้อ ถ้าคูลดาวน์อีกก็จะยิ่งทำให้ไกลโคเจนลดลงจนมีผลต่อการซ้อมในวันถัด ๆ ไป ในช่วงท้ายของการซ้อมให้วิ่งช้าลง แทนการคูลดาวน์ก็ได้

2.ให้วิ่งสไตรด์ (Strides) 4-6 เที่ยว หลังจากซ้อม สัก 2 ครั้งต่อสัปดาห์ สไตรด์คือการวิ่งเร็วแต่ผ่อนคลาย วิ่งยืด ๆ ไหล ๆ สัก 20-25 วินาทีต่อเที่ยว หลักจากสไตรด์แต่ละเที่ยวให้จ็อกหรือเดินสัก 1-2 นาที การสไตรด์ประจำจะช่วยให้คุณวิ่ง 5-10 กิโล ได้เร็วที่สบายขึ้น ใช้การสไตรด์แทนการจ๊อก (ข้อ 1) ก็ได้ (ผู้แปล: แต่ถ้าซ้อมหนัก (ความเร็ว) ก็ควรจ๊อกอยู่ดีอีก 10 นาที)

3.ยืดกล้ามเนื้อ (Stretch) หลักจากการซ้อมช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้การวิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากผลการวิจัยใหม่ ๆ แสดงให้เห็นว่า การยืดก่อนซ้อมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ ขณะที่ยืดหลังจากซ้อมมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และการยืดหลังซ้อมจะช่วยให้คาร์โบไฮเดรทชดเชยเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น (ผู้แปล: การยืดก่อนซ้อมควรวอร์มอัพก่อน ด้วยการจ๊อกสัก 10-12 นาที จะลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการยืดได้)

4.ถ้ามีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ ให้ใช้น้ำแข็งประคบสัก 10 นาทีต่อครั้งก็พอ จะช่วยควบคุมการอักเสบได้ แต่อย่านานไป เพราะจะไปเพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการบวมมากขึ้นได้ หลักจากหยุดประคบได้ 10 นาที ก็ประคบต่ออีก 10 นาที

5.จากการศึกษาพบว่า นักวิ่งที่กินคาร์โบไฮเดรทหลักจากซ้อม สัก 100 แคลอรี่ (ประมาณกล้วย 1 ผล) ทุก 15 นาที ต่อเนื่องไปสัก 2 ชั่งโมง จะช่วยให้กล้ามได้ไกลโคเจนชดเชยได้เร็ว และถ้ากินโปรตีนคุณภาพสูง 60 แคลอรี่ (ประมาณนม/โยเกิร์ตพร่องมันเนย 2 ถ้วย) ไปพร้อมกับคาร์โบไฮเดรท สัก 3-5 ครั้ง จะยิ่งช่วยให้ชดเชยได้เร็วยิ่งขึ้นอีก ซึ่งจะช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อด้วย (สรุป: คาร์โบไฮเดรท+โปรตีนย่อยง่ายเล็กน้อย จะดีกว่าได้รับเพียงคาร์โบไฮเดรทอย่างเดียว แต่ไขมันยังไม่จำเป็น)

6.5 วิธีแรกจะช่วยให้ร่างกาย และกล้ามเนื้อฟื้นจากการซ้อม แต่อย่าลืมด้านจิตใจ ถ้าคุณรู้สึกดีหลักจากซ้อมจะช่วยให้คุณสด และพร้อมจะซ้อมในวันถัดไป เพื่อให้รู้สึกดี ให้คุณเพ่งความรู้สึกไปที่การซ้อมที่สำเร็จและทำให้รู้สึกดี (ในวันนั้นอาจมีการซ้อมบางส่วนที่ทำให้รู้สึกท้อก็ได้) ยินดีกับตัวเองที่สำเร็จ ทนได้ตลอดการซ้อม และจินตนาการว่าคุณสามารถวิ่งได้อย่างลื่นไหลและแข็งแกร่ง

ถ้าคุณทำตามทั้ง 6 วิธีหลักจากซ้อมทุกครั้ง จะพบว่าการวิ่งของคุณจะดีขึ้นสำหรับวันถัด ๆ ไป ความเข้มข้นและคุณภาพของการซ้อมจะพัฒนาขึ้น และคุณจะวิ่งได้เร็วขึ้นในการแข่งขันครั้งถัดไป

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
PATRUNNING.COM
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.